กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้ดำเนินการอย่างโปร่งใส ตั้งแต่เริ่มเจรจา โดยเปิดให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการให้ข้อคิดเห็น โดยได้หารืออย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชน กลุ่มส่วนที่มีส่วนได้เสีย กลุ่มที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ ทั้งก่อน ระหว่างและหลังการเจรจา มีการดำเนินการในแนวทางต่างๆ ดังนี้
-หน่วยงานรัฐ การประชุมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
-ภาคการเมือง การชี้แจงข้อมูลสถานการณ์เจรจา และรับฟังข้อคิดเห็นจากคณะ กรรมาธิการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสภาที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นระยะๆ
-ภาคเอกชน
- หารือกับผู้ผลิต ส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมกว่า 30 สาขา
- การประชุมร่วมกับสภาอุตสาหกรรมฯและสภาหอการค้าฯเป็นประจำและต่อเนื่อง
-ประชาชนทั่วไป รวมทั้งนักวิชาการ
- การจัดเวทีสาธารณะรับฟังความเห็นของประชาชนทุกภาคส่วน เกี่ยวกับความตกลงต่างๆแต่ละความตกลง 7 ครั้ง ในปีงบประมาณ 2552
- กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ร่วมกับกรมส่งเสริมการส่งออก ให้บริการตอบข้อซักถามเกี่ยวกับ FTA ณ ศูนย์ One Stop Services กรมส่งเสริมการส่งออก ถนนรัชดาภิเษก
- การจัดสัมมนา ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด เพื่อเผยแพร่ข้อมูลและรับฟังข้อคิดเห็นอย่างสม ่าเสมอ โดยตั้งแต่ ต.ค. 2550 – 2552 ได้จัดสัมมนารวม 79 ครั้ง
-การเปิดให้มีส่วนร่วมในวงกว้าง
- จัดทำแบบสอบถามความเห็นเกี่ยวกับ FTA เพื่อรับฟังความเห็นของประชาชน ผ่านระบบอินเตอร์เนตของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
- จัดตั้ง Call Center เพื่อให้บริการข้อมูลทางโทรศัพท์ รับเรื่องร้องทุกข์และข้อคิดเห็นเกี่ยวกับผลการเจรจาของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งเข้าร่วมศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน 1111 โดยผ่าน 4 ช่องทางของสำนักนายกรัฐมนตรี โทรศัพท์สายด่วนรัฐบาล หมายเลข 1111,เว็บไซต์ www.1111. go.th ,ตู้ ป.ณ.1111 ไม่ต้องติดแสตมป์และจุดบริการประชาชน 1111